Tilgængelige kurser

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในอาชีพ (2-2-3)1
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีดิจิทัล
อินเทอร์เน็ต โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางคำนวณ โปรแกรมนำเสนอ
โปรแกรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์บนระบบ คลาวด์ โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล
เทคโนโลยีเก็บข้อมูล (Block Chain) โปรแกรม ระบบอัตโนมัติ สำหรับ
การวิเคราะห์ข้อมูลการทำธุรกรรมการเงินดิจิทัล สกุลเงินดิจิทัล
หรือคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่องานอาชีพ
การใช้งานดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย และ การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออาชีพ (2-2-3)1
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ อุปกรณ์ต่อพ่วง การใช้งานระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมตารางงาน โปรแกรมนำเสนอ บริการคลาวด์คอมพิวติ้ง การใช้งานอินเทอร์เน็ตสำหรับการสืบค้นในงานอาชีพ และการรักษาความปลอดภัยในการใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล

คอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่องานอาชีพ (1-2-2)1
ศึกษาและปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศเพื่องานอาชีพเบื้องต้น
การใช้ระบบปฏิบัติการ (Windows หรือ Mac OS)
การใช้โปรแกรมประมวลผลคำเพื่อจัดทำเอกสารในงานอาชีพ
การใช้โปรแกรมตารางทำการในงานอาชีพ การใช้โปรแกรมการนำเสนอผลงาน
หรือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป อื่น ๆ ตามลักษณะงานอาชีพ
การใช้อินเทอร์เน็ตสืบค้นข้อมูลเพื่องานอาชีพ และการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศ
ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จริยธรรมและความรับผิดชอบในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบสารสนเทศและงานอาชีพ

มาตรฐานวิชาชีพ
ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎหมายคอมพิวเตอร์ (1-0-1)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม บทบาทของวิชาชีพที่มีต่อสังคม

ระบบคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (1-2-2)

การใช้งานโปรแกรมการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (1-3-2)

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์(1-2-2)
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ความหมาย จำแนกประเภท องค์ประกอบหลักแต่ละส่วนของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (1-2-2)

การใช้โปรแกรมจำลองในงานคอมพิวเตอร์ (2-2-3)
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำลองในงานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจำลองในงานคอมพิวเตอร์แม่ข่าย โปรแกรมจำลองในงานระบบปฏิบัติการ (Virtual Machine) โปรแกรมจำลองในงานคอมพิวเตอร์อื่น ๆ การประยุกต์ใช้งานจำลองในงานระบบคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก
ศึกษาและปฏิบัติการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI : Graphic User Interface) รูปแบบ วิธีการใช้เครื่องมือในการเขียนโปรแกรม (Tools) ตรวจสอบและแสดงผลจากการเขียนโปรแกรม

การจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้น (1-2-2)
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการของระบบฐานข้อมูล ชนิดและลักษณะของข้อมูล การสร้าง ฐานข้อมูลและตารางข้อมูล การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตาราง (Relationship) การสืบค้น แก้ไข และ ปรับปรุงข้อมูล การสร้างฟอร์มและรายงานข้อมูล

การเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เบื้องต้น(1-4-3)

การสร้างเว็บเบื้องต้น (1-2-2)

การพัฒนาเว็บด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล (1-2-2)

การซ่อมและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ (1-1-2)
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจซ่อมและบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การตรวจหาสาเหตุ อาการเสียและแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เทคนิคการปรับแต่งคอมพิวเตอร์ การตรวจและกำจัดไวรัส การสำรองและกู้คืนข้อมูล

วิชาโครงการ (*-*-4)

ปัญหาพิเศษเทคโนโลยีสารสนเทศ (*-*-2)
ปฏิบัติเกี่ยวกับการแก้ปัญหา การค้นคว้า ทดลอง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และรายงานผลหัวข้องานปัญหาพิเศษด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวกับการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสมองกลฝังตัวและ IoT หรืองานคอมพิวเตอร์กราฟิก เกมและแอนิเมชัน ตามความเหมาะสม

งานเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ระยะสั้น)
ศึกษา และปฏิบัติ เกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรมในงานควบคุมเบื้องต้น การวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงาน การเขียนผังงาน โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในงานควบคุมเบื้องต้น เช่น ภาษาซี หรือภาษาอื่น ๆ เป็นต้น การเลือก เตรียม ใช้ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ในการเขียนโปรแกรมในงานควบคุมเบื้องต้น การออกแบบโปรแกรม การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ทดสอบและปรับแต่งชิ้นงานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ และประมาณราคาในการสร้างชิ้นงาน และมีกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน

งานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ด้วยสมองกลฝังตัว (ระยะสั้น)
ศึกษา และปฏิบัติ เกี่ยวกับหลักการของระบบสมองกลฝังตัว การออกแบบระบบสมองกลฝังตัว ภาษาที่ใช้สำหรับสมองกลฝังตัว การแก้ปัญหาด้วยการจำลองความคิด เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในงานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การทำงานของตัวตรวจรู้แบบต่าง ๆ ขั้นตอนการพัฒนาระบบสมองกลฝังตัว เลือกเตรียม ใช้ วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างชิ้นงานควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ด้วยสมองกลฝังตัว การเขียนผังงาน การเขียนคำสั่งเทียม การต่อสมองกลฝังตัวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น LCD, Bluetooth, Servo อุปกรณ์ที่มีการสื่อสารผ่านระบบ I2CBUS เป็นต้น การสร้างชิ้นงาน การทดสอบการทางานของชิ้นงาน การวิเคราะห์และประมาณราคาในการสร้างชิ้นงาน และมีกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงาน